วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วัดพระธาตุดอยม่วงคำ


วัดพระธาตุดอยม่วงคำ



หัวข้อโครงงาน            วัดพระธาตุดอยม่วงคำ ลำปาง


ประเภทของโครงงาน       :  โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

ผู้เสนอโครงงาน               :   ด.ญ.เบญญาภา  อินนั่งแท่น

ครูที่ปรึกษาโครงงาน        :  นาย พร้อมพงษ์       แปงเครือ

ปีการศึกษา                          :  2556



บทคัดย่อ


        การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประวัติของวัดพระธาตุดอยม่วงคำ ลำปาง วัดพระธาตุดอยม่วงคำ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ทะ หมู่ 1 ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 17 กิโลเมตร ซึ่งมีบันไดขึ้นที่ชันมาก ประมาณ 484 ขั้น และถ้าขึ้นไปชั้นสูงสุดจะมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ก่อนจะถึงบันไดชั้นสูงสุดจะมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่นอนอยู่ที่ศาลา ซึ่งเป็นที่สักการะของผู้ที่มาเที่ยววัดดอยม่วงคำ

วัดพระธาตุม่วงคำ หรือเรียกว่า วัดดอยม่วงคำ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นวัดชั้นราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่วัด 13 ไร่ 2 งาน เดิมพื้นที่วัดเป็นป่าเขา ต่อมามีการค้นพบฐานเจดีย์เก่าซึ่งสอดคล้องในตำนานหมาขนคำของคนโบราณ พระครูรัตนโสภณ (หลวงพ่ออิ่น) อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่ทะ อดีตเจ้าอาวาสวัดเมืองศาสน์ ร่วมกับ หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดลำปางได้ทำการสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2468 และได้รับความอุปถัมภ์สมณะศรัทธา เช่น พระครูสุเวทกิตติคุณ (หลวงปู่บุญชุบ) 



        




กิตติกรรมประกาศ


        โครงงานนี้สำเร็จขึ้นได้ด้วยความกรุณาของคณะอาจารย์หมวดคอมพิวเตอร์ โรงเรียนลำปางกัลยาณี ซึ่งได้ให้คำปรึกษาข้อชี้แนะและความช่วยเหลือจนกระทั่งโครงงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  ผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงมา ณ ที่นี้ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาที่ให้ความกรุณาในการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆของโครงงาน และให้ความรู้ ให้คำแนะนำทั้งให้กำลังใจ

        ท้ายสุดนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาการและเป็นที่น่าสนใจสำหรับผู้สนใจต่อไป ถ้าโครงงานเล่มนี้ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย





                                                                         ผู้จัดทำ

                                                  ..เบญญาภา  อินนั่งแท่น

                                                                  .3/3    เลขที่ 20















บทที่ 1



บทนำ



ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

        โครงงานนี้ได้มีที่มาและความสำคัญจากการที่ ผู้จัดทำได้ไปศึกษา ประวัติของ วัดพระธาตุดอยม่วงคำ ซึ่งผู้จัดทำได้เห็น ความสำคัญของวัดพระธาตุดอยม่วงคำ ว่ามีการก่อตั้งมานานหลายปี แต่ยังไม่สามารถรู้ได้อย่างชัดเจนว่า ผู้จัดทำจึงมีจุดประสงค์ที่จะไปศึกษาเกี่ยวกับ ประวัติของวัดพระธาตุดอยม่วงคำแห่งนี้เพื่อให้ได้ ความรู้เกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยม่วงคำ มากยิ่งขึ้น  ด้วยเหตุนี้ ผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงาน เรื่องวัดพระธาตุดอยม่วงคำ นี้ขึ้น


วัตถุประสงค์

        1. สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

       2. เพื่อให้คนรุ่นหลังได้รู้จัก วัดพระธาตุดอยม่วงคำ


ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ


      1.มีผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยม่วงคำ

     2.ทำให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้เกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยม่วงคำ










บทที่  2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

วัดพระธาตุดอยม่วงคำ



ประวัติวัดพระธาตุดอยม่วงคำ

วัดพระธาตุดอยม่วงคำ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่ทะ หมู่ 1 ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง อยู่ห่างจากอำเภอเมือง ประมาณ 17 กิโลเมตร ซึ่งมีบันไดขึ้นที่ชันมาก ประมาณ 484 ขั้น และถ้าขึ้นไปชั้นสูงสุดจะมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ก่อนจะถึงบันไดชั้นสูงสุดจะมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่นอนอยู่ที่ศาลา ซึ่งเป็นที่สักการะของผู้ที่มาเที่ยววัดดอยม่วงคำ

วัดพระธาตุม่วงคำ หรือเรียกว่า วัดดอยม่วงคำ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นวัดชั้นราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่วัด 13 ไร่ 2 งาน เดิมพื้นที่วัดเป็นป่าเขา ต่อมามีการค้นพบฐานเจดีย์เก่าซึ่งสอดคล้องในตำนานหมาขนคำของคนโบราณ พระครูรัตนโสภณ (หลวงพ่ออิ่น) อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่ทะ อดีตเจ้าอาวาสวัดเมืองศาสน์ ร่วมกับ หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดลำปางได้ทำการสร้างวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2468 และได้รับความอุปถัมภ์สมณะศรัทธา เช่น พระครูสุเวทกิตติคุณ (หลวงปู่บุญชุบ)

วัดเกาะวารลุการาม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และชาวบ้านทั่วไป ตลอดจนถึงคณะศรัทธาอำเภอแม่ทะ และคณะศรัทธาตำบลกล้วยแพะ และศรัทธาทั่วสารทิศจำนวนมาก โดยหลวงพ่อพระครูรัตนโสภณ ได้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสรูปแรก ตั้งแต่ พ.ศ.2468-2512 เป็นเวลา 44 ปี จนท่านมรณภาพ จากนั้นวัดพระธาตุม่วงคำ ก็เป็นวัดร้างถึง 21 ปี ต่อมาก็มี พระอธิการทินพันธ์ ทินฺนวโร จากวัดเมืองศาสน์ อ.เมืองลำปาง มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.2533 จนถึงปัจจุบัน และที่วัดพระธาตุดอยม่วงคำนี้จะจัดงานสรงน้ำพระธาตุทุกปี ซึ่งงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุประจำปีจะตรงกับ วันแรม 8 ค่ำ เดือน 9 เหนือ ซึ่งมีงานสมโภชอย่างใหญ่โตและวัดพระธาตุดอยม่วงคำนี้ ก็เป็นแหล่งกำเนิดตำนานที่ลือลั่นแห่งหนึ่งของเมืองลำปาง เรียกกันว่าตำนานหมาขนคำ หรือหมาขนสีทองคำ




ตำนานหมาขนคำ


สำหรับตำนานหมาขนคำที่ดอยม่วงคำนี้ เล่าว่า นานมาแล้วมีนายพรานคนหนึ่งได้เลี้ยงหมาตัวเมียมีขนสีทองจึงเรียกกันว่าหมาขนคำไว้หนึ่งตัว และในย่านนั้นไม่มีหมาตัวผู้อยู่เลย วันหนึ่งแม่หมาเกิดตั้งท้องขึ้นมา นายพรานเกรงจะถูกชาวบ้านครหาว่ามีเมียเป็นหมา จึงคิดจะกำจัดแม่หมา บ้านของนายพรานอยู่ในย่านบ้านเหล่าปลดริมป่า คือบ้านเสาสูงแบบเรือนต้นไม้ ราวบันไดปลดเก็บขึ้นไว้บนเรือนเพื่อป้องกันมิให้สัตว์ร้ายขึ้นเรือนไปทำร้ายชีวิตคนบนบ้านได้ เย็นวันหนึ่ง นายพรานปลดบันไดบ้านเก็บไว้บนบ้านโดยทิ้งแม่หมาไว้ข้างล่าง โดยหวังที่จะให้เสือมาคาบแม่หมาเอาไปกิน แม่หมาก็วิ่งหนีไปถึงดอยผาสามเส้า ริมดอยวัดม่วงคำ (เขตอำเภอแม่ทะ) แล้วคลอดลูกแฝดเป็นเด็กหญิงน่ารักสองคน ในแต่ละวันแม่หมาก็ไปหาอาหารมาเลี้ยงลูกน้อย และคาบเสื้อผ้าที่ชาวบ้านตากไว้บนราวตากผ้านำไปให้ลูกสาวสวมใส่ จนกระทั่งเวลาผ่านไปลูกสาวฝาแฝดทั้งสองคนเติบโตเป็นหญิงสาว คนพี่ชื่อนางเจตะกา คนน้องชื่อนางบัวตอง กิตติศัพท์ความสวยงามของหญิงสาวทั้งสองกระฉ่อนไปถึงในเมือง



      เมื่อพระยาปลัมมะโฆษา เจ้าเมืองทราบข่าว ปรารถนาจะได้ธิดาแฝดไปเป็นมเหสีซ้ายขวา ก็จัดขบวนวอทองไปรับสองธิดาแฝดที่ดอยผาสามเส้าขณะที่แม่หมาไม่อยู่ ธิดาแฝดบัวตองผู้น้องแสดงความเสียใจร้องไห้คร่ำครวญถึงแม่หมา ส่วนผู้พี่มีทีท่าตื่นเต้นที่มีวาสนาจะได้เข้าไปอยู่ในวัง พระยาปลัมมะโฆษา เจ้าเมืองได้สร้างปราสาทสองหลังให้นางเจตะกาและนางบัวตองอยู่คนละหลัง ฝ่ายแม่หมาเมื่อกลับมาถึงผาสามเส้าก็พบว่าลูกสาวหายไป แม่หมาก็เห่าหอนและตะกุยหน้าผาจนเป็นรอยคล้ายเล็บเท้าฝังในเนื้อหินผา ที่ชาวบ้านเรียกว่ารอยตีนหมาขนคำร้องไห้หาลูกสาว มาจนทุกวันนี้ ร้อนถึงพระอินทร์เวทนาแม่หมาจึงเนรมิตให้แม่หมาพูดได้ แม่หมาจึงเดินทางติดตามหาลูกสาวถึงในเมือง แม่หมาได้ถามไถ่ชาวบ้านมาเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงปราสาทของนางเจตะกา ทหารได้ซักถามแม่หมาว่ารู้จักและเกี่ยวข้องกับนางเจตะกาอย่างไร แม่หมาก็บอกว่านางเจตะกาเคยเป็นนายเก่ามาก่อน ครั้นเมื่อทหารนำความมาแจ้งแก่นางเจตะกา นางเจตะกากลัวว่าจะอับอายที่มีแม่เป็นหมา จึงสั่งให้ทหารทำร้ายแม่หมาจนได้รับบาดเจ็บจนต้องวิ่งหนีไป

แม่หมาได้รับบาดเจ็บก็วิ่งมาถึงปราสาทนางบัวตอง นางบัวตองรีบวิ่งมารับแม่หมานำเข้าไปในปราสาทเพื่อเยียวยารักษา ให้ข้าวให้น้ำแก่แม่หมา นางบัวตองได้ทูลขอหีบขนาดใหญ่จากสวามีโดยบอกว่าจะเอาไปขนสมบัติที่ผาสามเส้าภายในกำหนดเวลาเจ็ดวัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว นางบัวตองได้นำหีบไว้เป็นที่ซ่อนของแม่หมาในวัง เมื่อครบเจ็ดวันแล้ว แม่หมาทนพิษบาดแผลไม่ไหวก็สิ้นใจตาย พระอินทร์ได้เนรมิตร่างแม่หมาให้กลายเป็นแก้วแหวนเงินทอง เมื่อพระยาเจ้าเมืองพบว่ามีแก้วแหวนเงินทองเต็มหีบ พระองค์ก็โปรดปรานนางบัวตองเป็นอันมาก พระองค์ก็ให้นางบัวตองไปขนสมบัติที่ผาสามเส้าอีกครั้งหนึ่ง นางบัวตองมีความเสียใจที่แม่หมาเสียชีวิต นางจึงคิดจะกระโดดหน้าผาเพื่อฆ่าตัวตาย แต่บริเวณข้างล่างของหน้าผาเป็นที่อยู่ของยักษ์ซึ่งป่วยเป็นฝีกลัดหนองเจ็บปวดมาก เมื่อนางบัวตองกระโดดลงไปกระทบกับร่างของยักษ์ทำให้ฝีแตก ยักษ์จึงหายปวดเป็นปลิดทิ้ง ยักษ์จึงมอบทรัพย์สมบัติให้นางบัวตองเป็นอันมาก นางบัวตองจึงนำสมบัติกลับวังมาถวายพระยาปลัมมะโฆษา


ฝ่ายนางเจตะกา เมื่อทราบข่าวว่านางบัวตองไปขนสมบัติที่ผาสามเส้า นางก็รู้สึกอิจฉานางบัวตอง นางจึงอาสาพระยาปลัมมะโฆษา จะไปขนสมบัติที่ผาสามเส้าบ้าง เมื่อไปถึงผาสามเส้านางเจตะกาก็กระโดดหน้าผาตามที่นางบัวตองแนะนำ ด้วยความที่นางเจตะกามีบาปหนาฆ่าแม่ของตัวเอง ยักษ์จึงจับนางเจตะกากินเป็นอาหาร แล้วยักษ์ก็ไล่กินขบวนช้างม้าตายเกลื่อนเป็นจำนวนมาก สถานที่แห่งนี้จึงเรียกว่าโทกหัวช้าง ซึ่งในปัจจุบันเป็นชุมชนอยู่ในเขตอำเภอเมืองลำปาง และองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า นายพรานคนนั้นหลังจากสิ้นชีวิตลงได้เกิดมาเป็น พระเทวทัต แม่หมาขนคำได้เกิดมาเป็น นางปฏาจารา นางบัวตองได้เกิดมาเป็น พระนางพิมพายโสธรา นางเจตะกาได้เกิดเป็น นางจิญจมาณวิกา ผู้ใส่ร้ายพระพุทธเจ้า ทำให้โดนแผ่นดินสูบลงมหานรกอเวจี ส่วนพระยาปลัมมะโฆษานั้นได้เกิดมาเป็น พระตถาคต แห่งเราทั้งหลายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่าให้บรรดาพระพุทธสาวก เทพ เทวดา มนุษย์ ที่มาเฝ้า ณ ที่นั้นได้รับทราบถึงตำนานที่มาของหมาขนคำแห่งนี้



บทที่ 3

วิธีการจัดทำโครงงาน



       1.  ตั้งหัวข้อเรื่องที่ต้องการทำ

       2.  หาข้อมูลตามหนังสือและอินเทอร์เน็ต

       3. รวบรวมข้อมูลที่ได้มา

       4. ตรวจทานข้อมูลให้ถูกต้อง

       5. จัดทำเอกสารและโครงงาน

       6. จัดทำโครงงาน และนำเสนอด้วยเว็บบล็อก