วันอาทิตย์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2555


ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     

      ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการ ดังนี้
      1. ความสะดวกในการจัดเก็บข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ไดด้วยอัตรา  120  ตัวอักษรต่อวินาที  จะทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที
       2.ความถูกต้องของข้อมูล  โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็คทรอนิกส์จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบข้อมูลหากมีข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง
      3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วแสงทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบ จะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง
      4.ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือ สำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับการจัดส่งอื่นๆ
      5. สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง  กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้จากที่เดียวกัน ได้ต้องเก็บข้อมูลซับซ้อน กระจัดกระจายกันไปในคอมพิวเตอร์ทุกแผนก ซึ่งจะมีประโยชน์มากในกรณีที่ข้อมูลนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากส่วนกลางได้ทันที
      6. การใช้ทรัพยากรของระบบด้วยกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่ออยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่าย แต่สามารถให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์นั้นได้โดยตรง
      7.การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มงานเดียวกันได้เป็นอย่างดี สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือในระบบเอกสารชนิดหนึ่งอาจจะต้องผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน

ขอขอบคุณ : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2

โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    

        การสื่อสารโดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างไ กัน และกำหนดมาตรฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์เสริม

     3.1 โพรโทคอล
         โพรโทคอล คือ ข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะจัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน และแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีต่างกันไป
     1)โพรโทคอลเอชทีทีพี เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อเป็นช่องโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล( Hyper Text Markup Language : HTMY )ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องแม่ข่าย โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี
      2)โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ ผู้ส่งในเครือข่าย และ แบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่
      3)โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี คือโพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail) หรือ อีเมล (Email) ไปยังจุดหมายปลายทาง
      4)บลูทูท เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก
          ปัจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย นอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน ใช้โพรโทคอลชื่อ เอฟทีพี การโอนย้ายข่าวสารระหว่างใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี เป็นต้น ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโพรโทคอลต่างๆหลายโพรโทคอลร่วมหัน
      3.2 อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้นจะต้องอาศัยอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีดังนี้
       1)เครื่องทวนสัญญาณ เป็น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็สายสัญญาณนั้น เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆ ได้ โดยสัญญาณไม่สูญเสีย
        2)ฮับ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู่กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น
        3)บริดจ์ ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลตัวเดียวกัน ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณเครื่องปลายทางอยู่ในเครือข่ายเดียวกับเครื่องส่ง ก็จะส่งข้อมูลเครื่องนั้นไป ในเครือข่ายเดียวกัน ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
        4)อุปกรณ์จัดเส้นทาง สามารถกรองข้อมูลได้เช่นเดียวกับบริดจ์ แต่จะมีความสามารถมากกว่า ตรงที่สามารถหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้
         5)สวิตช์ นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ เพราะสวิตช์จะทำหน้าที่รับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใด แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย หรื ความคับคั่งของข้อมูล
        6)เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆเข้าด้วยกันไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตามเนื่องจากเกตเวย์สามารถแปลงรูปแบบแพ็กเก็ตของทำให้เชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ได้อย่างไมมีข้อจำกัด
ขอขอบคุณ :  หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2


 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์


        เทคโนโลยีในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใช้สาย และ เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย ดังนี้

   4.1 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

        เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

1)    สายตีเกลียวคู่ ประกอบด้วยเส้นลวดทองแดง 2 เส้น ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก พันบิดกันเป็นเกลียว เพื่อลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากไฟฟ้าความถี่สูงได้ สำหรับอัตราการส่งข้อมูลผ่านสายตีเกลียวคู่จะขึ้นอยู่กับความหนาของสายคือ สายทองแดงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง จะสามารถรับส่งสัญญาณไฟฟ้ากำลังแรงได้ สามารถใช้ส่ง 100 เมกะบิตต่อวินาที ในระยะทางไม่เกินร้อยเมตร สายตีเกลียวคู่มี 2 ชนิด

1.1)สายตีเกลียวคู่แบบไม่ป้องกันสัญญาณรบกวน หรือ ชนิดไม่หุ้มฉนวน เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ไม่มีฉนวนชั้นนอก ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าสายตีเกลียวคู่ชนิดหุ้มฉนวน ใช้ในระบบวงจรโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ปัจจุบันมีการปรับคุณสมบัติให้ดีขึ้น และเนื่องจากมีราคาถูกจึงนิยมใช้ในการเชือ่มต่ออุปกรณ์เครือข่าย

               1.2)สายตีเกลียวคู่แบบป้องกันสัญญาณรบกวนหรือชนิดหุ้มฉนวน เป็นสายตีเกลียวคู่ที่ชั้นนอกหุ้มด้วยลวดถักที่หนา เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รองรับความถี่ของการส่งข้อมูลได้

2) สายโอแอกซ์ มีลักษณะเช่นเดียวกับสายที่ติอมาจากเสาอากาศประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหุ้มด้วยฉนวนชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากลวดทองแดงถักเป็นเปียเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอื่นๆ สายโคแอกซ์มี 2 ชนิด คือ 50 โอห์ม และ 75 โอห์ม

3) สายใยแก้วนำแสง หรือเส้นใยนำแสง แกนกลางของสายประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือเส้นพลาสติกขนาดเล็กภายในกลวง หลายๆ เส้น อยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กประมาณเส้นผมของมนุษย์ โดยใช้เส้นใยชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง สามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก และ ไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีลักษณะพิเศษที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงแบบจุดไปจุด

4.2 เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย

        เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบไร้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อกลางนำสัญญาณซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด

        1) อินฟราเรด เป็นลักษณะของคลื่นที่ใช้ในการส่งข้อมูลระยะใกล้ๆในช่วงความถี่ที่แคบมาก ใช้ช่องทางสื่อสารน้อย มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่งกับตัวรับสัญญาณ โดยวิธีการสื่อสารตามแนวเส้นตรง ระยะทางไม่เกิน 1-2 เมตร ความเร็วประมาณ 4-16 เมกกะบิตต่อนาที

         2) คลื่นวิทยุ ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยมีตัวกระจายสัญญาณส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุความถี่ต่างๆ กัน มีความเร็วต่ำประมาณ 2 เมกกะบิตต่อนาที เช่น การสื่อสารในระบบวิทยุเอฟเอ็ม เอเอ็ม การสื่อสารแบบไร้สาย และ บลูทูท

        3) ไมโครเวฟ จะใช้การส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล จึงต้องมีการรับส่งข้อมูลเป็นระยะๆ เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกล และ ทุรกันดาร

       4) ดาวเทียม เป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนท้องฟ้า ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับส่ง สัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ และทวนสัญญาณในแนวโคจรของโลกซึ่งจะต้องมีสถานีภาคพื้นดิน ทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 ไมล์ โดยดาวเทียมเหล่านั้นจะเคลื่อนตัวด้วยความเร็วที่เท่ากับการหมุนของโลก

ขอขอบคุณ : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2


เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 

       เครือข่ายคอมพิวเตอร์  (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกตามสภาพการเชื่อมโยงได้เป็น 4 ชนิด
    2.1 เครือข่ายส่วนบุคคล
        เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน เป็นเครือข่าย เป็นเครือข่ายที่ใช่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อกับเครื่องพีดีเอน เป็นต้น
    2.2 เครือข่ายเฉพาะที่ 
         เครือข่ายเฉพาะที่ หรือ เลน เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือ ภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่นวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router)การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นที่ของตนเอง เครือข่ายแลนมีตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน เป็นต้น เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีก
     2.3 เครือข่ายนครหลวง
         เครือข่ายนครหลวง หรือ แมน เป็นเครืข่ายที่เชื่อมโยงแลนที่ห่างกัน เช่นระหว่างสำนักงานที่อยู่คนละอาคาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่อสารประเภทสายใยแก้วนำแสง สายโคแอกเชียล หรือ อาจใช้เครื่องไมโครเวฟ
      2.4 เครือข่ายวงกว้าง
          เครือข่ายวงกว้าง เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด เป็นต้น







ขอขอบคุณ : หนังสือเทคโนโรยีสารสนเทศและการสื่อสาร

.ความหมายและการพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

ความหมายและการพัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล

       
       การสื่อสาร (communication) หมายถึง การส่งข้อมูลจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งส่วนข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงสำรับใช้เป็นหลักในการหาความเท็จจริง โดยในที่นี้จะหมายถึงข้อมูลที่เกิดขึ้นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในรูปเลข 0 หรือ 1 ต่อเนื่องกันไป ซึ่งมีค่าที่เครื่องเข้าใจ
       ดังนั้น การสื่อสาร (data communication ) จึงหมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในรูปตัวเลขฐานสอง ที่เกิดจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารตลอดจนแบ่งปันการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
       การติดต่อสื่อสารของมนุษย์ในสมัยโบราณมีวิธีการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก เช่น การใช้ม้าเร็ว ใช้นกพิราบสื่อสาร เป็นต้น แต่เมื่อมนุษย์มีการพัฒนาความเป็นอยู่การดำรงชีวิต เครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารก็ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัยก้าวหน้าควบคู่มาโดยตลอด เพื่อความสะดวกสบายในการสื่อสาร มีการใช้โทรเลข โทรศัพท์ ดาวเทียม ระบุตำแหน่งพื้นบนโลก (Global Positioning System : GPS) ระบบ 3G และ ระบบ 4G ตามลำดับ การสื่อสารที่เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารให้ได้ยินเสียงและได้เห็นภาพเหล่านี้ ล้วนเป็นพัฒนาการด้านความคิดของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


ขอขอบคุณ : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ยุค1G - 4G



เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ


    ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งครื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น สามารถใช้งานด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะเข้าช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการนี้จึงมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่ ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย
       




แหล่งที่มาของภาพ : http://www.engineer4thai.com/content/tag/evolution-to-3g-mobile-technology/


         ยุค 2G เป็นยุคแลกเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียวโดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้ประสิทธิภาพ จนเกิดกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือที่เรียกว่า เซลไซต์ (cell site) และก่อระบบ GSM (Global System for Mobile Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า บริการข้ามเครือข่ายบ (roaming)
      

แหล่งที่มาของภาพ : http://www.engineer4thai.com/content/tag/evolution-to-3g-mobile-technology/
       
         ยุค 3G ใช้บริการมัลติมีเดีย  และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าเคร์อข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ10 เท่า มีช่องสัญญาณความถี่ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า เข้าถึงอินเตอร์เน็ตไดก้มากกว่า เช่น GSM
      

แหล่งที่มาของภาพ : http://www.engineer4thai.com/content/tag/evolution-to-3g-mobile-technology/
       
          ยุค 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิตต่อวินาที่ สามารถเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบ 3 มิติ ( three- dimensional :3D ) ระหว่างผู้ใช้่โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยใช้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ั
             


แหล่งที่มาของภาพ : http://www.bkk2.in.th/Topic.aspx?TopicID=7546


ที่มา หนังสือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2

บรอดแบนด์


      บรอดแบนด์ คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบรอดแบนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านแล้ว ด้วยบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Asymmetric Digital Subscripber Line : ADSL ) ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงมากกว่า 2.0  เมกะบิตต่อวินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม คำว่าบรอดแบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดแบนด็นั่นเอง



ขอขอบคุณ : หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.2